
ติดต่อสอบถาม
+66 2 877 9935
+66 2 985 8388
+66 2 117 1363
เนื้อหานี้จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำการใช้งานการติดตั้งกระจกอินซูเลท
ทางบริษัทฯ มีสินค้าประเภทกาวยาแนว ที่รองรับการติดตั้งกระจกอินซูเลท
แนะนำสินค้าสำหรับการติดตั้งกระจกอินซูเลทได้
กระจกอินซูเลท Insulated Glass Unit (IGU) นวัตกรรมใหม่แห่ง Green Building
กระจกอินซูเลท Insulated Glass Unit (IGU) คือ หน่วยที่ประกอบด้วยกระจกสองแผ่นประกบกัน โดยแยกห่างจากกันด้วยแก๊สหรือเป็นสุญญากาศ
เพื่อนๆทุกคนคงเคยยืนอยู่ริมหน้าต่างแล้วรู้สึกถึงความร้อนที่แผ่เข้ามาจากภายนอก นี่เป็นเพราะความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ทะลุผ่านกระจกเข้ามา กระจกในอาคารบ้านเรือนจึงเป็นแหล่งความร้อนหลักๆจุดหนึ่งในบ้านซึ่งทำให้บ้านมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่เรานั้นก็ไม่สามารถจำกัดหน้าต่างออกไปจากอาคารบ้านเรือนของเราได้ เนื่องจากหน้าต่างหรือกระจกเป็นแหล่งแสงสว่างที่สำคัญ แล้วทำให้เห็นทัศนวิสัยภายนอกอันสวยงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้จึงได้มีการคิดค้นกระจกอินซูเลท หรือกระจกฉนวนกันความร้อน ที่ลดการทะลุผ่านของความร้อนจากภายนอก และทำให้ประหยัดพลังงานที่ใช้ในการทำความเย็นให้แก่บ้าน เช่น แอร์ หรือพัดลม แต่ยังคงคุณสมบัติของกระจกในการให้แสงทะลุผ่าน
กระจกอินซูเลท คือ อะไร
กระจกอินซูเลท ประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นคั่นด้วยแก๊สตรงกลางระหว่างกระจก 2 แผ่น โดยแก๊สนี้โดยทั่วไปจะเป็นแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศเพื่อลดการนำความร้อนระหว่างแผ่นกระจกทั้งสองแผ่น ระหว่างกระจกทั้งสองแผ่นจะมีสารดูดความชื้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีไอน้ำอยู่ภายใน หากมีการรั่วซึมของน้ำเข้าไป
การที่ความร้อนจะเคลื่อนที่ผ่านกระจกอินซูเลทนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ 3 วิธี ได้แก่ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสี ในการลดความร้อนที่ถูกส่งผ่านในทั้ง 3 วิธีนี้ จะมีเทคนิคการออกแบบกระจกอินซูเลทที่แตกต่างกัน ดังนี้
การนำความร้อน หรือ Conduction : บรรจุแก๊สระหว่างช่องว่างของกระจกด้วยแก๊สเฉื่อยซึ่งมีมวลโมเลกุลสูง ซึ่งทำให้โมเลกุลสั่นและเคลื่อนที่ได้ยาก เพื่อลดการนำความร้อน
การพาความร้อน หรือ Convection : ปรับความกว้างของช่องว่างระหว่างกระจกทั้งสองแผ่นให้มีความเหมาะสมสำหรับแก๊สนั้นๆ เพื่อลดการหมุนเวียนของแก๊สภายในช่องว่าง และลดการถ่ายเทความร้อน
การแผ่รังสี หรือ Radiation : เคลือบผิวของกระจกด้วยสารที่มีค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อนต่ำ หรือ Low-E Coating (E : Emissivity) โดยการลดการแผ่รังสีจะสามารถช่วยความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการถ่ายเทความร้อนในกระจกอินซูเลทส่วนใหญ่เป็นการแผ่รังสี
นอกจากนี้กระจกทั้งสองอาจเป็นกระจกชนิดต่างๆ ตามความต้องการและการใช้งานของผู้ใช้งาน เช่น เป็นกระจกสี กระจกสะท้อนแสง กระจกกันรังสีอัลตราไวโอเลต กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกลามิเนต หรือกระจกที่มีการเคลือบผิว และอาจมีกระจกทั้งหมดสองชั้นหรือสามชั้นก็ได้เพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
ข้อดีและข้อเสียของ กระจกอินซูเลท คือ
ข้อดี
ข้อเสีย
ในการประกอบและติดตั้งกระจกอินซูเลทนั้น การเลือกกาวสำหรับโครงสร้างและยาแนวให้ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ โดยกาวจะต้องสามารถรับน้ำหนักของกระจก พร้อมทั้งแรงจากลมได้ โดยกาวจะต้องเป็นกาวโครงสร้างคุณภาพสูง (Structural Sealant) ในส่วนของการยาแนวกระจกอินซูเลท นิยมยาแนวเป็น 2 ชั้น ซึ่งประกอบด้วย ยาแนวปฐมภูมิ (Primary Seal) และยาแนวทุติยภูมิ (Secondary Seal) โดยยาแนวทั้ง 2 ชั้นจะอยู่ระหว่างกระจกทั้งสองแผ่น โดย Primary Seal จะอยู่ด้านใน โดยมี Secondary Seal ยาแนวทับอยู่ด้านนอก
โดยยาแนว Primary Sealant ที่อยู่ทางด้านใน มีหน้าที่หลักในการป้องกันน้ำ ความชื้น และอากาศไม่ให้ซึมผ่าน โดยนิยมใช้เป็นกาวประเภทบิวบิว เช่น Polyisobutylene (PIB) ที่มีคุณสมบัติเป็นยาง ที่สามารถกันความชื้นได้ดี ในส่วนของ Secondary Sealant เช่น Shinetsu SEALANT FC 312 เป็นกาวประเภทซิลิโคน ทำหน้าที่หลักในการยึดกระจกอินซูเลทเข้าด้วยกัน จึงต้องมีความแข็งแรงสูง เป็นเกรดโครงสร้างสำหรับงานกระจกอินซูเลทโดยเฉพาะ และต้องผ่านการทดสอบต่างๆ เช่น การยึดติด ความเข้ากันได้ของวัสดุ และการเกิดคราบ ก่อนที่จะนำไปใช้จริงทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและการออกใบรับประกันการใช้งาน
ทางแอดฮีซีลได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท Shinetsu ในประเทศไทยในการจำหน่าย Functional Sealant กาวซิลิโคนยาแนวเกรดโครงสร้าง พร้อมทั้งกาวสำหรับงานกระจกอินซูเลท (Insulating Glass sealant)
SEALANT-FC-312
SEALANT-FC-312 คือกาวยาแนวซิลิโคนที่เป็นกลางแบบสองส่วนผสม เพื่อใช้ในการเป็น Secondary Sealant ของงานกระจกอินซูเลท ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้างหรือไม่ใช่งานโครงสร้าง เป็นกาวยาแนวที่แห้งตัวได้รวดเร็ว แข็งตัวแล้วมีความแข็งแรงสูง เหมาะแก่การยึดติดบนกระจกประเภทต่างๆ เช่น กระจกใสธรรมดา และกระจกที่มีการเคลือบผิว เป็นต้น
ติดต่อเราผ่านช่องทาง
สินค้าน่าสนใจ
เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ